Circadian Rhythms นาฬิกาชีวภาพ
นาฬิกาชีวภาพ คือ วงจรการทำงานของร่างกายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆ เช่น การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย ตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง ตัวอย่างหนึ่งของการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ
คือ นอนหลับในเวลากลางคืนและตื่นในระหว่างวัน มีความเกี่ยวข้องกับแสงธรรมชาติ คือแสงแดด
ในช่วงการนอนหลับ จะมีฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ไปกระตุ้นการหลั่ง Growth hormone ออกมาเพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงกระตุ้นกระบวนการออโตฟาจี (autophagy) หรือ ขบวนการกินตัวเองเพื่อกำจัดเซลล์ที่ชราและเสื่อม ในตับส่งผลให้มีการเผาผลาญไขมันและผลิตกลูโคสไปใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการแบ่งเซลล์ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ถูกกำจัดไป มีงานวิจัยพบว่า การเกิดกระบวนการ autophagy เป็นปัจจัยส่งเสริมการมีอายุที่ยืนยาว
อ้างอิง :
– Maiese K. Moving to the Rhythm with Clock (Circadian) Genes, Autophagy, mTOR, and SIRT1 in Degenerative Disease and Cancer. Curr Neurovasc Res 2017; 14: 299-304.
– Nat Med. 2018 December; 24(12): 1795-1803
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.